พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เหมือน แตกต่างกันอย่างไร


วันที่เขียน 2019-07-01 17:50:53
วันที่อัพเดทล่าสุด 2019-07-08 22:57:07

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นสิ่งที่เราจ่ายเงินกันทุกปี ๆ เพราะเป็นความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ แต่มันจะเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร มีความคุ้มครองและวงเงินเหมือนกันไหม เป็นสิ่งที่เจ้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์จำเป็นต้องทราบ ซึ่ง thedriverservice.com ก็ได้สรุปใจความสำคัญมาไว้ในบทความนี้แล้ว 

 

พ.ร.บ. คืออะไร 

พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมาย ซึ่งใน พ.ร.บ.2535 ได้ระบุเอาไว้ว่า รถทุกชนิดต้องทำพ.ร.บ.ก่อน จึงจะต่อทะเบียนได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำประกัน เพื่อดูแลความปลอดภัยใน ชีวิตมากขึ้น ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับการดูแลรักษาในทุกกรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมี สิทธิที่เราต้องรู้ไว้ 2 ประการคือ

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น

เป็นค่าความเสียหายที่ยังไม่ต้องรอการพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก แต่เราก็จะได้รับภายใน 7 วัน คนละ 30,000 บาทในกรณีบาดเจ็บ และคนละ 35,000 บาทในกรณีที่สูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ถ้าในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมาภายหลัง จะได้รับไม่เกินคนละ 65,000 บาท

ส่วนในกรณีที่เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 35,000 บาทแต่ถ้ารักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท โดยจะจ่ายจากค่าใช้จ่ายตามจริง

2. ค่าสินไหมทดแทน

คือ เงินชดเชยที่จะได้รับหลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว และถ้าหากเราเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่ารักษาพยาบาลเบิกตามจริงไม่เกิน 80,000 บาทรวมถึงเงินชดเชยในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ 200,000-300,000 บาท เงินชดเชยในกรณีที่เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาทค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยในวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันรวมเป็น 4,000 บาทรวมถึงค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดคนละไม่เกิน 304,000 บาท

ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ.โดนปรับเท่าไหร่

หากไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร และโดนค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท และรถคันนั้นจะไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี ก็จะโดนปรับอีก 400 - 1,000 บาท

สิทธิประโยชน์ของ พ.ร.บ.

ในส่วนสิทธิประโยชน์ของพ.ร.บ. จะช่วยเพียงแค่ค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ / ค่าใช้จ่ายในการขนส่งไปโรงพยาบาล / ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น และจ่ายค่าคุ้มครองคนเจ็บก่อนที่ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันรถยนต์ชั้น 3 จะตามมาดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆอีกครั้ง   

พ.ร.บ. รถยนต์ และพ.ร.บ. จักรยานยนต์มีความคุ้มครองเหมือนกันตรงไหน

หลักๆแล้วความคุ้มครองที่เราจะได้รับเหมือนๆกัน ได้แก่ 

  • ค่าเสียหายเบื้องต้นคือ ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บตามจริง 30,000 บาท/คน และกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาท/คน
  • หากมีค่าเสียหายส่วนเกิน พิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายถูก รับวงเงินคุ้มครองเพิ่มค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ซึ่งจ่ายตามจริง 80,000 บาท/คน
  • เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
  • หากสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ ได้แก่ นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท และสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000 บาท
  • กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาล รับเงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท

Tips: พ.ร.บ. รถยนต์และพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ช่วยดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจ่ายค่ารักษาตามจริง และดูแลกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น แต่ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมแซมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นสำหรับเอกสารที่ต้องใช้ใน พ.ร.บ.รถยนต์และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กับบริษัทคุ้มครองผู้ประสบภัย ได้แก่ 

สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ, สำเนาใบขับขี่, สำเนาทะเบียนรถ, หน้าตาราง พ.ร.บ., บันทึกประจำวันจากตำรวจ, ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล, ใบรับรองแพทย์, สำเนาทะเบียนบ้านของฝ่ายถูกและผิด หากเป็นทายาทผู้ประสบภัยกรณีเสียชีวิตจะต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ

ที่มารูปภาพ pixabay.com

พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ต่างกันตรงไหน 

แม้พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุเหมือนกัน แต่สองสิ่งนี้ต่างกันที่ค่าใช้จ่ายของ พ.ร.บ. ที่ต้องจ่ายในแต่ละปี โดยค่าใช้จ่ายแบ่งตามประเภทของรถ ดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย พ.ร.บ. รถยนต์ ได้แก่ รถยนต์ นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท รถยนต์โดยสารเกิน 7- 15 ที่นั่ง 1,XXX บาท รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,XXX บาท รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,XXX บาท รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 4,XXX บาท รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน 9XX บาท รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง 6 ตัน 1,XXX บาท รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน 1,XXX บาท รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน 1,XXX บาท
  • ค่าใช้จ่าย พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์ ได้แก่  เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 1XX บาทเครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 3XX บาท เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 4XX บาท เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 6XX บาท

Tips: นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมายกตัวอย่างให้ทราบเท่านั้น หากใครสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สมุดทะเบียนรถเล่มสีเขียว (จักรยานยนต์) เปิดที่หน้ารายการจดทะเบียน จะพบกับข้อมูลบริเวณ สูบ ….. ซีซี ที่ระบุไว้ให้แล้ว

อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรปล่อยให้ พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ หมดอายุ เพราะจะไม่สามารถต่อภาษีรถได้ แถมยังต้องเสียค่าปรับด้วย และทำให้เราไม่มีความคุ้มครองใดๆในตอนขับขี่ ยิ่งตอนที่พ.ร.บ.หมดอายุเมื่อไร อุบัติเหตุจะชอบถามหานักเชียว ดังนั้น หมั่นตรวจเช็คทุกปี จะได้ไม่พลาดให้เจ็บตัวเสียเงินฟรี 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมขนส่งทางบก