พรบ. รถจักรยานยนต์

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์คุ้มครองอะไรบ้าง?

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ความคุ้มครองนี้กรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สามารถเบิกได้เลยโดยไม่ได้สนใจว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด อีกทั้งยังเบิกได้ทั้งคนขับและคนซ้อน

1. ค่ารักษาพยาบาล: สามารถเบิกได้สูงสุด 30,000 บาท/คน กรณีนี้เป็นการจ่ายตามค่ารักษาจริง ถ้าค่ารักษานั้นเกิน 30,000 บาท เราจะต้องจ่ายเพิ่มเอง

2. กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ: สามารถเบิกได้ 35,000 บาท

ข้อ 1 และ ข้อ 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน

ค่าสินไหมทดแทน

ในกรณีที่เราจะได้ค่าสินไหมทดแทนนั้น จะต้องได้รับการพิสูจน์ว่า เราต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น ถึงจะได้ในส่วนของความคุ้มครองนี้

1. ค่ารักษาพยาบาล: สามารถเบิกได้สูงสุด 80,000 บาท/คน

2. เสียชีวิต ทุพพลภาพ(ถาวร): สูงสุด 300,000 บาท/คน

3. สูญเสียอวัยวะ:

  • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป – 300,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน – 250,000 บาท
  • สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป – 200,000 บาท

4. กรณีนอนโรงพยาบาล: จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน แต่จะต้องไม่เกิน 20 วัน

นอกจากนี้การต่อภาษีรถจักรยานยนต์ จะต้องใช้ พรบ. ด้วย จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำพรบ.ไม่ได้ รู้เช่นนี้แล้ว หากใครยังไม่ได้ทำพรบ.รถจักรยานยนต์ ต้องรีบทำกันเลยนะคะ เพื่อความสบายใจต่อตนเอง และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆว่าจะได้รับความคุ้มครองเบื้องต้นทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุค่ะ